รายงานแม่น้ำโขง 14 มีนาคม 2553
รายงานแม่น้ำโขง 14 มีนาคม 2553
โดย : นายเดชา คำเบ้าเมือง สำนักข่าวประชาธรรมอุดรธานี (15/03/2010 09:32 AM)
หยุดเขื่อนโลก เอ็น จี โอ โต้ รมต.สุวิทย์ อย่าทำตัวเป็นนักสร้างเขื่อน
เมื่อวันที่ 14 มี.ค.53 เวลา 10.00 น. นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ อีสาน ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ตนพร้อมคณะรวม 7 คน ภายใต้ชื่อ "คณะสำรวจนิเวศวัฒนธรรมแม่น้ำโขง"ได้ ลงพื้นที่ทำการสำรวจสภาพข้อเท็จจริงแม่น้ำโขงเริ่มตั้งแต่ ปากแม่น้ำเลย อ.เชียงคาน จ.เลย จนไปถึง อ.โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเวลา 8 วัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 จนถึงวันที่ 15 มีนาคม รวมระยะทางกว่า 800 กิโลเมตร
"สิ่งที่คณะเราพบจากการสำรวจระบบนิเวศ และสอบถามพูดคุยกับชาวบ้านในส่วนของอำเภอเชียงคาน จนถึงอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย พบว่าสภาพระบบนิเวศสองฝั่งแม่น้ำโขงจะเป็นภูเขา และในลำน้ำโขงจะเป็นแก่งหินสลับกับหาดทราย ซึ่งระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร ในฝั่งประเทศไทยจะมีลำห้วยมากถึง 45 ห้วย โดยเฉลี่ย 2 กิโลเมตรต่อหนึ่งห้วย ห้วยที่เราพบขนาดใหญ่เช่น ปากชม ห้วยโมง จะมีเขื่อนกั้นเอาไว้ที่ปากแม่น้ำและลำห้วยเล็กๆ น้ำจะแห้ง ไม่มีน้ำไหลลงน้ำโขง นอกจากนี้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศบนภูเขา ซึ่งเป็นต้นน้ำ ป่าไม้จะถูกโค่นเปลี่ยนมาปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่วดำ มะละกอ ยางพารา และในช่วงฤดูฝนพื้นดินจะไม่สามารถกักเก็บเอาไว้ ได้และ น้ำจะไหลลงแม่น้ำโขงในทันที ส่งผลให้ฤดูแล้งน้ำในลำน้ำโขงลดลง"
ถ้าสังเกตจาก อ. ศรีเชียงใหม่ จนถึงจังหวัดมุกดาหาร ลักษณะระบบริมฝั่งโขงจะเป็นที่ราบเหมาะสำหรับการปลูกพืชริมโขง ซึ่งจะเป็นการปลูกพืชที่ไม่ใช้น้ำมาก เช่นยาสูบ พริก ฯลฯ แต่หากพื้นที่ที่อยู่หากจากลำน้ำโขงประมาณ 5-10 กิโลเมตรจะมีการใช้น้ำโดยการสูบจากล้ำโขงโดยเครื่องสูบน้ำจากกรมพัฒนา พลังงาน (พพ.) และมีการจ่ายค่าน้ำ 100 บาทต่อชั่วโมง จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านที่มีการใช้น้ำในลักษณะนี้ บอกว่าไม่คุ้มกับการลงทุน
ในช่วงฤดูแล้งช่วงเดียวกันนี้ลำน้ำโขงจะเป็นปกติแห้ง แต่ในปีนี้รู้สึกว่าจะแห้งผิดกว่าปกติในรอบ 50 ปี ชาวบ้านจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการที่น้ำในลำน้ำโขงแห้ง เร็วน่าจะเกิดจากการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำของประเทศจีน และรัฐบาลไทยน่าจะพูดคุยกับรัฐบาลจีนถึงปัญหานี้ สิ่งที่ชาวบ้านเห็นตอนนี้คือ ลำน้ำโขงไม่ได้ถูกควบคุมด้วยธรรมชาติแต่ถูกควบคุมด้วยเขื่อนในประเทศจีนและ มีผลกระทบต่อการปรับตัวของการอยู่หากินในช่วงสั้นๆ
"การ ที่รัฐมนตรี (สุวิทย์ คุณกิตติ) ออกมาพูดสนับสนุนการสร้างเขื่อนเป็นการตั้งธงเอาไว้และขาดความรู้ข้อเท็จ จริงในระดับพื้นที่อยากจะถามนายสุวิทย์ (รมต.) นอกจากคิดสร้างโครงการเขื่อนขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำโขงเพื่อผันน้ำและเสนอให้มี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในอีสาน เพื่อหวังจะได้ส่วนแบ่งงบประมาณต่างๆ แล้ว เคยทำประโยชน์และมีข้อเสนอที่แสดงตัวตนถึงนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในฐานะเจ้า กระทรวงบ้างหรือ มีหน้าที่เอาทรัพยากรมาใช้ให้หมดในรุ่นเรานี้" หัวหน้าคณะสำรวจฯ กล่าวทิ้งท้าย
![]() แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย : พรานปลาบอกว่าทุกปีก้อนหินที่เห็นอยู่นี้จะไม่โผล่ |
![]() พื้นที่การเกษตรบริเวณริมแม่น้ำโขง |
![]() เมื่อถึงหน้านี้ (น้ำลด) ชาวบ้านริมโขงร่อนทองเป็นประจำทุกปี |
![]() สูบน้ำโขงเพื่อเอาไปใช้ในแปลงเกษตร |
![]() น้ำโขงแห้งจนรถการเกษตรของชาวบ้าน สามารถวิ่งขึ้นลงได้อย่างสบาย |
![]() สถานีสูบน้ำซึ่งพบเป็นระยะๆ เพื่อนำเอาน้ำโขงไปใช้ ทำน้ำประปาและใช้ในแปลงเกษตร |
![]() คณะสำรวจพูดคุยกับชาวบ้านริมฝั่งโขง |
![]() เขื่อนปิดปากน้ำห้วยหลวงช่วงบริเวณ อ.โพนพิสัย จ.หนองคายที่จะไหลลงสู่ แม่น้ำโขงเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้น้ำโขงแห้ง |
![]() "น้ำลดทำให้ช้อนปลาได้ยากขึ้น เพราะพื้นที่มันชันและปลาก็ย้ายแหล่งที่อยู่ใหม่" |
![]() ปลาน้ำโขง (ปลาโจก) ... แซ่บหลายเด้อ! |